คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม Faculty Of Engineering Mahasarakham University
เลือกหน้า

ระหว่างวันที่ 8 – 10 สิงหาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ STISWB (The 15th International Conference on Science, Technology and Innovation for Sustainable Well-Being)

โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พฤทธ์ สกุลช่างสัจจะทัย ตัวแทนศาตราจารย์ ดร.ประดิษฐ์ เทอดทูล ผู้ก่อตั้งการประชุม STISWB ในการกล่าวกล่าวพิเศษถึงโครงการ STISWB

พิธีต้อนรับโดย Dr. Soulideth Keoboualapheth รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์

กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดงาน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติศักดิ์ ศรีประทีป คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

และกล่าวรายงาน โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรพัฒน์ ชมพูคำ ผู้ช่วยคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยในเครือข่ายทั้ง 18 มหาวิทยาลัย

ในวันที่ 9 สิงหาคม 2566 ผู้เข้าร่วมโครงการลงทะเบียน เข้าร่วมประชุมสัมมนาวิชาการ ณ มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ เมืองหลวงพระบาง กล่าวปาฐกถาพิเศษโดย

-ศาตราจารย์ ดร.ระพีพันธ์ ปิตาคะโส จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

– Mr. Khanthavong Dalavong (Industry professionals of the economic team of the academy of sciences government politics and economy, Lao People’s Democratic Republic, Laos)

– Asso. Prof. Ling Xin ( ออนไลน์) Southwest Jiaotong University (SWJTU)

Deputy Dean of Tianyou Railway Institute

ในภาคบ่ายมีการแบ่งกลุ่มนำเสนอบทความทางวิชาการฯ และการประชุมเครือข่ายหารือความร่วมมือของเครือข่ายภาคีเครือข่าย STISWB รายงานการดำเนินงานโครงการ STISWB ของปีที่ผ่านมา และหารือวางแผนการดำเนินงานในปีต่อๆไป และมีการมอบรางวัลรางวัล Best Paper และ Best Presentation ในงานเลี้ยงช่วงค่ำ

ในวันที่ 10 สิงหาคม 2566 ผู้เข้าร่วมโครงการทัศนศึกษารอบๆ เมืองหลวงพระบาง วัตถุประสงค์เพื่อจัดให้มีการประชุมพบปะระหว่างมหาวิทยาลัยพันธมิตรในสี่ระดับอันได้แก่ ระดับสถาบัน ระดับนักวิจัย ระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ และระดับนักศึกษา เพื่อสร้างความสัมพันธ์เชิงรุกในการร่วมกันทางวิชาการ การบริการวิชาการ การจัดการองค์ความรู้ การสร้างเครือข่ายประกันคุณภาพและการแลกเปลี่ยนด้านจรรยาบรรณของบุคลากร การทำนุบำรุงและแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นกับมหาวิทยาลัยพันธมิตร ทั้งในระดับบุคลากร และนักศึกษา และเพื่อกระตุ้นคณาจารย์ให้มีการผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ